การดูแลน้องหมาที่ป่วยเป็นอัมพาต
น้องหมาของใครที่ไม่สบายก็ต้องดูแลให้ดี แต่น้องหมาของบางคนป่วยจนเป็นอัมพาตจะดูแลแบบไหน วันนี้มาดูว่าน้องหมาที่ป่วยเป็นอัมพาตเราควรจะดูแลเรื่องอะไรบ้าง มาดูกันเลย



ช่วยเหลือเรื่องการขับถ่าย
การช่วยบีบนวดกระเพาะปัสสาวะ
- น้องหมาป่วยอัมพาตบางราย ไม่สามารถปัสสาวะเองได้หมด ควรช่วยบีบนวดกระเพาะปัสสาวะทุก 4 ชั่วโมง เพื่อลดโอกาสการเกิดกระเพาะปัสสาวะอักเสบและติดเชื้อ
- ตำแหน่งในการบีบนวดกระเพาะปัสสาวะคือ ระหว่างเต้านมสองคู่สุดท้าย ตรงกลางของช่องท้อง เมื่อคลำพบแล้วให้ใช้มือและ นิ้วในการบีบบวด ไม่ใช้กำปั้นกดลงไปตรงช่องท้องโดยตรง
- กรณีน้องหมาตัวใหญ่ หรืออ้วน การบีบนวดกระเพาะปัสสาวะทำได้ยาก แนะนำเป็นการสวนท่อปัสสาวะ และเปลี่ยนท่อใหม่ทุก 5-7 วัน เพื่อลดการติดเชื้อ
ดูแลด้านความสะอาด
- น้องหมาป่วยอัมพาตไม่สามารถเลียตัวเองเพื่อทำความสะอาดได้ จำเป็นต้องช่วยเช็ดตัว ทำความสะอาดให้แทน
- บริเวณอวัยวะเพศ ขาหนีบ และรอบทวาร ให้ใช้ผ้าเปียกเช็ดทำความสะอาดทุกครั้งที่มีการขับถ่าย แล้วเช็ดให้แห้ง
- บริเวณใบหน้าและคอ ให้เช็ดทำความสะอาดทุกครั้งหลังป้อนอาหารและน้ำ
- บริเวณลำตัว ใช้ผ้าเปียกหมาดเช็ดทำความสะอาด แล้วเช็ดแห้ง อย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง กรณีน้องหมาป่วยไม่มีแผลกดทับ อาจจะอาบน้ำ 1-2 สัปดาห์/ครั้ง
การพลิกตัว
- ช่วยลดโอกาสเกิดแผลกดทับ จากการนอนในท่าใดท่าหนึ่งนาน ๆ
- หากน้องหมาป่วยไม่สามารถพลิกตัวเองได้ แนะนำให้ช่วยาพลิกตัวทุก 4 ชั่วโมง
- วิธีในการพลิกตัว คือจัดท่าให้คว่ำตัวก่อน แล้วค่อยพลิกให้อีกข้างลง ไม่พลิกท่าหงายเพราะจะทำให้ เกิดภาวะกระเพาะบิดหรือท้องอืดได้
- ในน้องหมาที่ป่วยด้วยโรคทางกระดูก สมองและสันหลัง มักมีอาการเจ็บปวดคอและหลัง ให้ระวังในการจับหรือจัดท่าทาง
กายภาพ
- น้องหมาป่วยอัมพาตเมื่อไม่ได้ใช้ขาเป็นเวลานาน ๆ มีโอกาสเกิดภาวะกล้ามเนื้อฝ่อลีบได้ แนะนำให้ช่วยยืดหดขา ครั้งละ 15 นาที วันละ 2 ครั้ง เพื่อการคงอยู่ของกล้ามเนื้อ เนื่องจากภาวะกล้ามเนื้อฝ่อ ลีบ จะมีโอกาสทำให้ง่ายต่อการเกิดแผลกดทับได้
- น้องหมาป่วยที่อัมพาต 2 ขาหลัง แต่ยังสามารถใช้ขาหน้าได้ แนะนำให้ขึ้นวีลแชร์ หรือใส่ชุดช่วงพยุงเดิน วันละ 2-3 ครั้ง ครั้งละ 15-30 นาที
การป้อนน้ำและอาหาร
- น้องหมาป่วยอัมพาต ไม่สามารถกินน้ำและอาหารเอง ได้ตามปกติ จำเป็นต้องช่วยป้อน
- ป้อนอาหาร 2-3 มื้อ ต่อวัน ขึ้นกับน้ำหนักตัวและพลังงานที่ควรได้รับต่อวัน
- กรณีที่ปริมาณอาหารต่อวันตามหลักโภชนาการเยอะ ควรแบ่งมื้ออาหารให้มากขึ้น ไม่แนะนำให้อาหารเยอะเกินไปต่อมื้อ เพราะง่ายต่อการเกิดภาวะท้องอืด
- ป้อนน้ำ ทุก 1-2 ชั่วโมง ตามน้ำหนักและปริมาณน้ำที่ควรได้รับต่อวัน (อย่างน้อย 50 ml/kg/day)
- จับยกหัวหรือนอนหมอนสูงขณะทำการป้อน
- หากน้องหมาป่วยไม่สามารถเลียน้ำหรืออาหารจากชามเองได้ จำเป็นต้องใช้ไซริงค์ในการป้อน ควรเปลี่ยนไซริงค์ทุกครั้งของมื้ออาหาร และเปลี่ยนไซริงค์ทุกวันของ การป้อนน้ำ