สารพิษกับน้องหมา
สารพิษบางอย่างมีลักษณะโดดเด่นกว่าสิ่งอื่น เช่น สารเคมี เช่น สี หรือน้ำมันดิน จะติดอยู่ตามผิวหนัง สารพิษอื่น ๆ จะสังเกตุเห็นได้ยาก เช่น การกินพืชที่มีพิษหรือยา ไปจนถึงสารเคมีต่าง ๆ รวมไปถึงการสูดหายใจเข้าไป
อาการที่สัตว์เลี้ยงมักแสดงให้เห็น ได้แก่ ดูไม่สบายตัว กระสับกระส่าย หรือมีความเจ็บปวด นอกจากอาการที่กล่าวไป สารพิษยังสามารถส่งผลให้สัตว์แสดงอาการต่าง ๆ เช่น สับสน อาเจียน กระสับกระส่าย โซเซ ซึม ชัก อ่อนเพลีย สูญเสียความอยากอาหาร กระตุก ม่ายตาขยาย มีแผลหลุม ท้องเสีย ใจสั่น และหมดสติ
สัตว์ที่ได้รับสารพิษจะต้องไปรับการดูแลเบื้องต้นทันที



สารพิษที่ได้รับผ่านผิวหนัง
- น้ำมันดิน (tar)
- ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม
- สารเคมีในครัวเรือน
- สีและน้ำยาล้างสี
- น้ำมันเชื้อเพลิง
- หนามจากพืช
- พิษจากคางตก
- ยากำจัดเห็บหมัด
สารพิษที่ได้รับผ่านการหายใจ
- ควัน
- แก็สน้ำตา
- ยาฆ่าแมลง
- สีและน้ำยาล้างสี
สารพิษที่ได้รับผ่านการกิน
- ด่าง
- กรด
- สารเคมีใรครัวเรือน
- ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม
- ยาต่าง ๆ
พืชมีพิษ
- ตีนตุ๊กแกฝรั่ง (English ivy)
- ถุงมือจิ้งจอก (foxglove)
- Hemlock
- เห็ด
- Mistletoe
- ยี่โถ (Oleander)
- ลิลลี่
- ทิวลิป



การป้องกัน
- ควรกันสุนัขออกจากบริเวณที่มีการใช้หรือเก็บสารเคมี
- หากไม่สามารถกันสุนัขออกจากบริเวณได้ ควรมั่นใจว่าสารเคมีถูกเก็บจากสุนัขอย่างมิดชิด
- ไม่ควรปลูกพืชที่เป็นพิษต่อสุนัขไว้ในบริเวณบ้านและคอยระวังไม่ให้สุนัขไปเข้าใกล้พืชเหล่านี้ขณะไปเดินนอกบ้าน
- หากจำเป็นต้องใช้ยาฆ่าแมลงหรือยาฆ่าหนู ควรปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด และกันสุนัขออกจากบริเวณที่ใช้สารเหล่านี้ รวมถึงการใช้ยาฆ่าแมลงสำหรับสุนัข (ปลอกคอหรือแชมพูกันเห็บหมัด)
- เก็บยาของคนให้มิดชิดจากสัตว์เลี้ยง ควรระบุจำนวนเอาไว้ข้างบรรจุภัณฑ์เพราะจะสามารถตรวจสอบจำนวนยาที่สุนัขกินเข้าไปได้
Credit : honestdocs