เห็ดพิษกับน้องหมา
เห็ดพิษสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 กลุ่ม (A, B, C, D) ตามอาการและเวลาที่เกิดอาการ และแบ่งได้เป็น 7 กลุ่ม (1-7) ตามชนิดของสารพิษที่อยู่ในเห็ดสุนัขที่ชอบออกมาวิ่งเล่นนอกบ้านหรือในป่านั้นอาจจะมีการรับประทานเห็ดพิษเข้าไปซึ่งบางครั้งคุณก็ไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นเห็ดชนิดไหน ดังนั้นหากคุณควรนำเห็ดที่สงสัยมาให้สัตวแพทย์ดูด้วย



อาการที่พบเมื่อสุนัขกินเห็ดพิษและชนิดของเห็ดพิษ
อาการที่เกิดขึ้นนั้นจะขึ้นอยู่กับชนิดของเห็ดที่สุนัขกินเข้าไปเป็นหลัก
เห็ดในกลุ่ม A เป็นกลุ่มที่มีพิษรุนแรงที่สุดและสามารถทำให้เซลล์ที่ตับและไตตายได้
ในขณะที่กลุ่ม B และ C นั้นจะส่งผลต่อระบบประสาท
กลุ่ม D จะทำให้เกิดอาการระคายเคืองภายในทางเดินอาหาร ตัวอย่างอาการที่สามารถพบเมื่อรับประทานเห็ดมีพิษเข้าไปประกอบด้วย
- อาเจียน
- ท้องเสีย
- ปวดท้อง
- อ่อนแรง
- ซึม
- ตัวเหลืองตาเหลือง
- การเคลื่อนไหวแต่ละส่วนไม่ไปด้วยกัน
- น้ำลายฟูมปาก
- ชัก
- หมดสติ
เห็ดที่เป็นพิษต่อตับ
- เห็ดชะโงกหิน (Amanita phalloides)
- Amanita ocreata
- Lepiota
- Galerina
เห็ดชนิด Toadstool



Amanita pantherina



Amanita muscaria
เห็ดกลุ่ม False Morel



Gyromitraesculenta



Gyromitra Caroliniana



เห็ดในกลุ่ม Verpa



เห็ดในกลุ่ม Helvella
เห็ดที่มีพิษหลอนประสาท
- Conocybe
- Gymnopilus
- Psilocybe
- Panaeolus
เห็ดที่มีสาร muscarinic



Inocybe



Clitocybe
เห็ดที่ทำให้เกิดพิษต่อระบบทางเดินอาหาร



Boletus



Gyromitraesculenta



Gyromitraesculenta



สาเหตุที่ทำให้สุนัขได้รับพิษจากเห็ด
สุนัขจะได้รับพิษจากเห็ดเมื่อรับประทานเอาเห็ดพิษเข้าไป ซึ่งความรุนแรงของพิษนั้นจะขึ้นอยู่กับชนิดของเห็ดและปริมาณที่รับประทาน
การวินิจฉัยโรค
สัตวแพทย์จะเริ่มจากการซักประวัติอย่างละเอียดเกี่ยวกับสุขภาพเดิมของสุนัข อาการที่เกิดขึ้นและเหตุการณ์ที่อาจกระตุ้นให้เกิดอาการ
ก่อนที่จะทำการตรวจร่างกายและตรวจเลือดร่วมกับปัสสาวะซึ่งมักจะพบว่ามีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำและค่าเอนไซม์ของตับสูงจากการที่ตับถูกทำลาย นอกจากนั้นสัตวแพทย์อาจทำการเก็บตัวอย่างจะอาหารในกระเพาะเพื่อนำไประบุชนิดของเห็ดที่รับประทาน
การรักษาเมื่อสุนัขได้รับพิษจากเห็ด
ภาวะนี้เป็นภาวะที่ต้องรีบรักษาโดยด่วนและต้องรักษาในโรงพยาบาล โดยจะเริ่มจากการให้กิน activated charcoal เพื่อเข้าไปจับกับสารพิษที่ยังคงอยู่ในกระเพาะอาหารและลำไส้ ระหว่างนั้นสุนัขจะได้นับสารน้ำเพื่อให้ปัสสาวะออกมากขึ้นซึ่งจะช่วยกำจัดสารพิษ ในบางกรณีสัตวแพทย์อาจเลือกกระตุ้นให้สุนัขอาเจียนร่วมด้วย
การดูแลหลังการรักษา
สุนัขที่ได้รับการรักษานั้นมักจะมีผลลัพธ์ที่ดี โดยเฉพาะหากได้รับการล้างท้องหลังจากที่กินเข้าไปไม่นาน แต่ก็ขึ้นกับชนิดและปริมาณของเห็ดที่รับประทาน
นอกจากนั้นบางอาการอาจจะเกิดขึ้นภายหลังเมื่อเกิดพิษที่ตับและไตแล้ว ดังนั้นสัตวแพทย์จึงมักจะต้องติดตามการทำงานของตับและไตทุก ๆ 24-48 ชั่วโมง และหากคุณพบเห็นอาการผิดปกติควรรีบแจ้งสัตวแพทย์
credit : honestdocs