โรคอ้วนในสุนัข
สุนัขก็เป็นโรคอ้วนได้ สุนัขก็เป็นโรคอ้วนได้ไม่ต่างจากคน ด้วยน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นของสุนัขมักจะมาพร้อมสุขภาพที่ไม่ดีและโรคต่าง ๆ ทำให้เกิดการกดทับที่ข้อต่อ หัวใจ ปอด ไต และตามช่วงตัว
เมื่อสุนัขเริ่มอ้วนก็จะไม่ค่อยมีความซุกซน เพราะด้วยน้ำหนักตัวที่เยอะและตัวใหญ่เลยทำให้ทำอะไรก็ไม่สะดวก
สาเหตุของโรคอ้วนในสุนัข
การกินมากเกินไป
ทั้งอาหารปกติหรือการให้อาหารว่างระหว่างมื้ออาหาร รวมไปถึงขนมเล็ก ๆ น้อย ๆ บางครั้งเจ้าของมักมีความเชื่อผิด ๆ ว่า สุนัขต้องมีอาหารตลอด 24 ชั่วโมง หรือหากสุนัขถามหาอาหารอีกนั่นหมายความว่ามันหิว ซึ่งจริง ๆ นั่นเป็นความเชื่อที่ผิด ตามธรรมชาติสุนัขเป็นสัตว์กินซาก และหากพวกมันเรียนรู้วิธีการออดอ้อนเพื่อขออาหารเพิ่มขึ้น (ทำตาแป๋ว ๆ ใส่ใหญ่เลยนะเรา) พวกมันก็จะขออาหารเพิ่มขึ้นและเพิ่มอีก ไม่ว่าพวกมันจะหิวหรือไม่ก็ตาม
ขาดการออกกำลังกาย
นี่เป็นปัญหาเช่นเดียวกับมนุษย์ หากไม่ได้ขยับร่างกายหรือออกไปเล่นนอกบ้านบ่อย ๆ พวกมันก็จะไม่ออกกำลังกายไปเลยอัตโนมัติ และน้ำหนักก็จะเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ พวกมันก็ขี้เกียจเหมือนที่พวกเราเป็นนั่นแหละ ฉะนั้นกระตุ้นตัวเองและกระตุ้นสุนัขด้วย ออกไปวิ่งกันเดี๋ยวนี้เลย
อย่างไรก็ตามก็ยังมีเหตุผลอื่นอีกที่สุนัขน้ำหนักเพิ่มขึ้นได้เหมือนกัน
การทำหมัน
สุนัขที่ทำหมันไม่ได้แปลว่าพวกมันจะกลายเป็นสุนัขอ้วนไปโดยอัตโนมัติ การทำหมันทำให้ความสามารถในการเผาผลาญอาหารลดลง คุณจึงควรควบคุมการให้อาหารและการออกกำลังกายให้เปลี่ยนแปลงไปตามอายุหรือสภาพของสุนัขด้วย ทั้งหมดเป็นเรื่องควบคุมได้
ความผิดปกติของฮอร์โมน
เช่น ภาวะขาดไทรอยด์ (under-active thyroid gland) หรือไฮโปไทยรอด์ (Hypothyroidism) สามารถเป็นสาเหตุให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับน้ำหนักได้ ต่อมหมวกไตของสุนัขจะผลิตฮอร์โมนที่เรียกว่า คอร์ติซอล (cortisol) มากเกินไปเป็นสาเหตุของโรคคุชชิง (Cushing’s disease) สุนัขที่เป็นโรคคุชชิงจะไม่ได้มีน้ำหนักเพิ่มมากขึ้นก็จริงแต่จะมีไขมันสะสมบริเวณท้องทำให้พวกมันดูอ้วนลงพุง
ระบบเผาผลาญทำงานช้า
เกิดขึ้นในสุนัขวัยผู้ใหญ่ จากหลายงานวิจัยระบุให้เห็นว่าระบบเผลาผลาญจะทำงานช้าลงในช่วงอายุ 5 หรือ 6 ปี สุนัขจะเริ่มมีน้ำหนักมากขึ้นหาก จากนั้นปัญหาก็จะแย่ลงไปเรื่อย ๆ ต้องคอยควบคุมโภชนาการของสุนัขให้ดี
สายพันธุ์
หากสุนัขเป็นสายพันธุ์ผสมหรือบีเกิล, ค็อกเกอร์ สแปเนียล, คอลลี่, เชทแลนด์, บาสเซ็ต ฮาวด์, ดัชชุน, ลาบราดอร์ รีทรีฟเวอร์ หรือโกลเด้น รีทรีฟเวอร์ ก็โปรดระวังปัญหาโรคอ้วนไว้สักหน่อยก็ดี
เมื่อสุนัขเริ่มอ้วนหรือน้ำหนักเยอะเกินแล้ว จะรู้ได้อย่างไร
ตรวจซี่โครง
ถ้าคลำหาซี่โครงไม่เจอ นั่นแสดงว่าเริ่มอ้วนแล้ว
เช็คลมหายใจ
หายใจแรงหลังจากทำกิจกรรมเบา ๆ หรือแทบไม่ได้ทำอะไรเลย
ตรวจโคนหาง
สัมผัสหางแล้วเจอกระดูก
ดูส่วนเว้าส่วนโค้ง
ส่วนคอดบริเวณด้านหลังของซี่โครงควรจะมีขนาดเล็กกว่าบริเวณหน้าอก
ไปพบสัตวแพทย์
ถ้าคิดว่าน้ำหนักเยอะมากเกินแล้วก็ควรไปปรึกษาสัตวแพทย์ เพื่อให้สัตวแพทย์ได้ตรวบสอบเช็คร่างกาย
credit : chimlang