fbpx
For a better experience please change your browser to CHROME, FIREFOX, OPERA or Internet Explorer.
โรคในลูกสุนัข

โรคในลูกสุนัข

          ใครที่กำลังมีลูกหมาตัวเล็ก ๆ อยู่ในบ้าน ต้องคอยดูแลให้ดี เพราะลูกหมานั้นมีโอกาสเสี่ยงที่จะติดโรคต่าง ๆ ได้มากมาย เพราะลูกหมายังมีภูมิต้านทานต่ำ เราจึงควรรู้ทันโรคที่อยูในลูกหมาตัวน้อยและวิธีป้องกัน รักษาได้อย่างถูกต้อง

โรคไข้หัดสุนัข (Canine Distemper)
  • เกิดจาก: เชื้อไวรัส
  • น้องหมากลุ่มเสี่ยง: ลูกหมาอายุ 3- 6 เดือน
  • อาการของโรค: ซึม เบื่ออาหาร ตามด้วยมีไข้สูง มีน้ำมูก ตาแดง มีน้ำตาและมีขี้ตาเกรอะกรัง ไอ รวมไปถึงอาจมีอาการท้องเสียและขาดน้ำร่วมด้วย โดยสิ่งที่สังเกตได้ง่ายเมื่อลูกสุนัขเป็นโรคนี้ คือฝ่าเท้าของลูกหมาจะหนาตัวขึ้นผิดปกติ และรุนแรงถึงมีอาการทางสมองและระบบประสาทร่วมด้วย เช่น ชัก เดินไม่ปกติ กระตุก
  • ความรุนแรงของโรค: ส่งผลต่อสมอง หรือระบบประสาท
  • การติดต่อของโรค: ติดต่อผ่านทางน้ำลาย การขับถ่าย การหายใจ และการจามได้อีกด้วย
  • การป้องกัน: เพราะเป็นโรคที่ไม่มีการรักษาโดยตรง ดังนั้นแนวทางการป้องกันจึงสําคัญที่สุด คือ พาน้องหมาไปฉีดวัคซีนอย่างถูกต้องตามคําแนะนําของสัตวแพทย์ คอยดูแลความสะอาด และให้อาหารสูตรลูกสุนัขที่เสริมภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง
โรคลําไส้อักเสบ (Canine Parvovirus)
  • เกิดจาก: เชื้อไวรัส
  • อาการของโรค: ที่เห็นได้อย่างเด่นชัดคือ ท้องเสียอย่างรุนแรง ถ่ายเหลวพุ่งเป็นน้ำหรือเป็นเลือด อุจจาระมีกลิ่นเหม็นมาก พร้อมกับมีไข้ ซึม ขาดน้ำรุนแรง
  • ความรุนแรงของโรค: อันตรายถึงเสียชีวิตได้
  • การติดต่อของโรค: ติดต่อผ่านทางอุจจาระ และเชื้อที่ปนเปื้อนตามสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ เช่น พื้นกรง น้องหมาด้วยกัน หรือแม้กระทั่งมือคนที่เคยสัมผัสกับน้องหมาที่ติดเชื้อ
  • การป้องกัน: ฉีดวัคซีนป้องกันโรคนี้ตามโปรแกรมวัคซีนอย่างเคร่งครัด ถ้าพบว่าลูกหมามีอาการท้องเสีย ให้รีบพาไปพบสัตวแพทย์ทันที
โรคกระดูกอ่อน (Rickets)
  • น้องหมากลุ่มเสี่ยง: ลูกหมาที่ได้รับแคลเซียมและฟอสฟอรัสไม่เพียงพอ ทําให้กระดูกพัฒนาไม่เต็มที่ และเปราะบางกลายเป็นโรคกระดูกอ่อน ซึ่งโดยทั่วไปลูกหมาน้อยต้องการแคลเซียมและฟอสฟอรัสสูงกว่าน้องหมาที่โตเต็มวัยถึง 3 เท่าทีเดียว
  • การป้องกัน: ให้อาหารที่มีสารอาหารครบถ้วนสมดุล โดยเฉพาะสัดส่วนของแคลเซียมและฟอสฟอรัสที่เหมาะสมแก่ลูกหมาน้อย แต่ก็ต้องระวังไม่ให้ได้รับแคลเซียม ฟอสฟอรัส และสารอาหารอื่น ๆ มากเกินไป เพราะอาจทําให้มีปัญหาโครงสร้างผิดรูปได้เช่นกัน
Top แอพขายหมา
แอพขายหมา